ขี้อ้าย

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปต้นขี้อ้าย

ต้นขี้อ้าย

ขี้อ้าย
ชื่ออื่นๆเช่น กัดลิ้นลิง,คอมเฮาะ,แคว้งที้,แดงดง,ตะไหลแก้วดง,ทองว้า,น้ำนุ่ม,พญาไก่เถื่อน,มะเฟืองป่า,ลำไยป่า,หมักแดงดง,หว่า,สุ่ม,
สังคำ,หนามกราย,แสนคำ,แสงคำ,ต้นแสนคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia triptera Stapf.วงศ์ COMBRETACEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้ยืนต้นสูงถึง 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเทา อาจมีพูพอน หรือไม่มี เปลือกในกระพี้สีเหลืองส้ม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ หรือมีหนึ่งใบยาว 14-18 เซนติเมตร
รูปผลขี้อ้าย

ผลขี้อ้าย

ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร ค่อนข้างกลม และด้านบนแบนเกลี้ยง หรือมีขน มีช่องอากาศทั่วไป ใบย่อยมี 2 คู่ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ใบคู่ที่อยู่ตอนปลายๆ กว้าง 2.-3 เซนติเมตร ยาว 6-13 เซนติเมตร ส่วนใบที่ปลายกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-10 เฯติเมตร ส่วนใบคู่ที่อยู่ตอนโคนมักจะเล็กกว่าเล็กน้อย โคนเรียวแหลม ปลายเรียวแหลม เนื้อหนาคล้ายหนัง ด้านบนเห็นเส้นใบไม่ชัด ด้านล่างเห็นชัดแค่เส้นกลางใบ และเส้นใบเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่มกระจาย มีจุดขาวกระจายทั่วไป ใบคู่ปลายมีเส้นใบ 5-7 คู่ ใบที่ปลายมีเส้นใบ 6-8 คู่ อาจมีต่อมหรือไม่มี บางครั้งเห็นชัด ก้านใบย่อมกลม หรือด้านบน แบนเล็กน้อย ที่ใบคู่ปลายยาว 0.4-1 เซนติเมตร
ดอก มีกลิ่นหอมออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบที่ไม่เจริญที่ปลายกิ่งยาว 5-10 เซนติเมตร แตกกิ่งเป็น 3 ชั้น แกนกลางช่อดอกอันแรกเลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม และมีช่องอากาศอยู่หนาแน่น สีน้ำตาลดำ หรือดำดอกสมบูรณ์เพศ หรือเป็นดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงยาว 1-2 เซนติเมตร ปลายจักลึก 5 พู ด้านนอกมีขนเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร ยาว 3-4 มิลลิเมตร ปลายเป็นหมวกเมื่อแก่ ก้านชูเกสรร่วมรูปทรงกระบอก ยาว 2-5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ปลายแตกเป็น 2 ฟันแหลม อับเรณูยาว 0.6-0.8 มิลลิเมตร จากฐานดอก เป็นวงแหวนสูง 0.2-0.3 มิลลิเมตร รังไข่มีขนหนาแน่น มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียทรงกระบอก หรือรูปโคนแคบ ยาว 0.6-0.7 มิลลิเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม เส้นผ่าศูนย์กลางยาว 0.7-1 มิลลิเมตร
ผล ผลสด กลม เส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1.2-2.4 เซนติเมตร เมื่อสดสีเขียวอ่อน หรือแดงมีขนเล็กน้อย ผนังผลบางคล้ายหนัง มีผนังผลชั้นในเป็นเส้นใย
เมล็ด รูปรีกว้าง 0.9-1.3 เซนติเมตร ยาว 1.3-2.3 เซนติเมตร มีเยื่อนุ่มห่อหุ้มสีขาว หรือไม่มีสีเยื่อหวาน
สรรพคุณ
ราก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต แก้อาจมไม่ปกติ ดับพิษร้อน พิษไข้เนื่องจากการอักเสบ แก้พิษไข้กลับ ทาภายนอก แก้พิษร้อน แก้ปวดบวมปวดเมื่อยร่างกาย
เนื้อไม้ ดับพิษร้อนพิษไข้เนื่องจากการอักเสบแก้พิษไข้กลับ ทาภายนอกแก้พิษร้อน แก้ปวดบวม ปวดเมื่อยร่างกาย
เปลือกต้น แก้ลงท้องกล่อมอาจม แก้อุจจาระเป็นฟอง แก้บิด แก้ลงแดง ชะล้างบาดแผล ห้ามเลือดออกจากบาดแผล แก้อติสารและอุจจารธาตุ บำรุงธาตุ กล่อมเสมหะ แก้ปวด แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ สมานแผล
ดอก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ปิดธาตุ แก้บิด สมานแผล กล่อมอาจม แก้อุจจาระเป็นฟอง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
เป็นพิษต่อเซลล์
การทดสอบการเป็นพิษ พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดพืชทั้งต้นด้วยเอธานอล 95 % เข้าช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง และขนาด 900 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของปลายลำไส้ใหญ่

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี